การสื่อสารข้อมูลอนุกรม ด้วยพอร์ต RS232
การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม
การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม (Serial) เป็นการนำข้อมูลของตัวส่งไปยังตัวรับครั้งบิต และตัวรับจะนำข้อมูลมาจัดเรียงกันให้ครบทั้ง 8 บิต หรือ 1 ไบต์เพื่อนำไปใช้ประมวลผลข้อมูลต่อไป
การส่งสัญญาณจะใช้ระดับแรงดัน +15V แทนลอจิก 0 และใช้แรงดัน -15V แทนลอจิก 1 สามารถปรับความเร็วในการสื่อสาร (Baud Rate)ตั้งแต่ 2400 bps จนถึงระดับ 19200 bps
แต่หากความเร็วมากขึ้นจะทำให้ระยะทางของการสื่อสารสั้นลง อย่างไรก็ตามจะมีความเร็วในการส่งข้อมูลน้อยกว่าวิธีการสื่อสารข้อมูลแบบขนาน (Parallel)
EIA (Electronic Industries Association) หรือ สมาคมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของอเมริกาได้กำหนดมาตรฐานการสื่อสารข้อมูลดิจิตอลแบบอนุกรม เรียกว่า
RS232 (Recommended Standard no. 232) สำหรับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น โมเด็ม เครื่องพิมพ์ หรืออื่นๆ ยุคแรกๆ RS232 เป็นที่นิยมมาก
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมี Serial port ไว้สำหรับสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ RS232 เป็นมาตรฐานที่รับ/ส่งข้อมูลแบบ Full duplex นั่นคือการส่งและรับข้อมูลได้
พร้อมกันในเวลาเดียวกัน โดยอาจจะป็นการสื่อสารกันระหว่าง DTE อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) กับอุปการณ์ DCE เช่น Modem ดังรูปด้านล่าง
– Tx : transmit data คือ สายส่งข้อมูล
– Rx : Receive data คือ สายรับข้อมูล
– GND : Signal ground คือ สายกราวด์
ความเร็วการสื่อสาร
ความเร็วในการสื่อสาร หรือที่เราคุ้นกันอีกชื่อคือ Baud rate หมายถึงอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล bit ต่อวินาที โดยปกติจะมีค่า 1200 2400 4800 9600 19200 bps (bit/sec)
ซึ่งทั้งตัวรับและต้องส่งจำเป็นที่ต้องกำหนดค่า baud rate ให้เท่ากัน มิฉนั้นจะทำการการสื่อสารข้อมูลผิดพลาด
ความยาวสายเคเบิล Rs232
ความยาวของสาย หรือระยะทางนั้นจะผกผันกับความเร็ว หากใช้ความเร็วในการสื่อสารสูง ระยะทางที่สสามารถสื่อสารได้จะลดลง
RS232 Port
พอร์ตสือสาร RS232 แบบเดิมจะเป็นชนิด DB9 และมีตำแหน่งขาดังรูป
การเชื่อมต่อสายเคเบิลระหว่าง Connector DB9 ของ DTE และ DCE
ตัวอย่างสายเคเบิลของการสื่อสารด้วยพอร์ต RS232
ปัจจุบันพอร์ตบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ได้ยกเลิกการใช้ DB9 และได้เปลี่ยนมาใช้พอร์ตชนิด USB แต่อุปกรณ์ต่อพ่วงยังคงใช้ RS232 ลักษณะของสายเคเบิล จึงมีลักษณะดังรูป
Reference
การสื่อสารผ่าน Serial Port
WHAT IS RS232